การตรวจรับรองอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

การตรวจรับรองอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522

วัตถุประสงค์

ตามที่ได้มีการควบคุมอาคารต่างๆ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 จะพบว่าถึงแม้ว่าอาคารต่างๆ จะได้ทำการก่อสร้างภายใต้กฎหมายดังกล่าว

แต่ก็ยังมีปัญหาการเกิดอุบัติภัยต่างๆ จากอาคารเป็นระยะๆ  ซึ่งในเวลาต่อมาส่วนหน่วยราชการผู้รับผิดชอบได้ออกกฎหมายว่าด้วยการตรวจสอบอาคาร

เพื่อจัดให้มี  ‘ผู้ตรวจสอบอาคาร’ เข้าทำการตรวจสอบอาคารรวมถึงอุปกรณ์ประกอบของอาคาร นอกจากนี้ยังเป็นผู้ให้คำชี้แนะและให้ความคิดเห็น

เพื่อเป็นแนวทางให้เจ้าของอาคารได้ทำการแก้ไขปรับปรุงให้เป็นไปตามกฎหมายและมาตรฐานต่างๆ ที่ควรจะเป็นซึ่งนอกจากการตรวจสอบอาคารนี้

เป็นไปตามกฎหมายแล้วยังมีสาเหตุเนื่องมาจากเมื่อมีการใช้อาคารไปสักระยะย่อมทำให้อุปกรณ์ประกอบอาคารต่างๆ อาจมีการชำรุดบกพร่อง

ถึงแม้ว่าจะมีการบำรุงรักษาเป็นอย่างดีการที่มีการตรวจสอบอาคารโดยบุคคลากรจากภายนอก โดยผู้ตรวจสอบอาคารจะช่วยให้เจ้าของอาคารได้รับทราบข้อมูล อันจะเป็นแนวทางในการจัดทำมาตรการและแผนการดำเนินงานดูแลอาคารได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้งานอาคาร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารส่วนใหญ่ที่บังคับให้มีการตรวจสอบอาคารมักจะเป็นอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากซึ่งจะเป็นการพัฒนายกระดับมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับอาคารดังกล่าวอีกทางหนึ่ง

ประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคาร

  1. อาคารสูง หมายถึง อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ โดยมีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคาร

ให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงขั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนังของชั้นสูงสุด

  1. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ หมายถึง อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นพื้นที่อยู่อาศัย

หรือประกอบกิจการประเภทเดียวหรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกันตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป

  1. อาคารชุมนุมคน หมายถึง อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายในเพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่

ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไปหรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป

  1. โรงมหรสพ หมายถึง อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด

และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชนเข้าขมการแสดงนั้นเป็นปกติ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

  1. โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่แปดสิบห้องขึ้นไป
  2. สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
  3. อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดหรืออาคารอยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  4. อาคารโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานที่มีความสูงมากกว่าหนึ่งชั้นและมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  5. ป้าย หรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไปหรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป

หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป

รายการที่ต้องตรวจสอบ
กฎหมายได้กำหนดให้เจ้าของอาคารต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารด้านวิศวกรรมหรือผู้ตรวจสอบด้านสถาปัตยกรรม

แล้วแต่กรณีต้องทำการตรวจสอบสิ่งต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้
1.1. การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
1.2. การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร
1.3. การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร
1.4. การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร
1.5. การชำรุดสึกหรอของอาคาร
1.6. การวิบัติของโครงสร้างอาคาร
1.7. การทรุดตัวของฐานรากอาคาร
2. การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
2.1. ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
2.1.1. ระบบลิฟต์
2.1.2. ระบบบันไดเลื่อน
2.1.3. ระบบไฟฟ้า
2.1.4. ระบบปรับอากาศ
2.2. ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
2.2.1. ระบบประปา
2.2.2. ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย
2.2.3. ระบบระบายน้ำฝน
2.2.4. ระบบจัดการมูลฝอย
2.2.5. ระบบระบายอากาศ
2.2.6. ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
2.3. ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
2.3.1. บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
2.3.2. เครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
2.3.3. ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
2.3.4. ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
2.3.5. ระบบลิฟต์ดับเพลิง
2.3.6 ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
2.3.7. ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
2.3.8. ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง
2.3.9. ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
2.3.10. ระบบป้องกันฟ้าผ่า
3. การตรวจสอบสมรรถนะของระบบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร
3.1. สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
3.2. สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน
3.2. สมรรถนะระบบแจ้งสัญญาณเหตุเพลิงไหม้
4. การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
4.1. แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร
4.2 แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร
4.3. แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร

4.4. แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร

    อาคารทั้ง 9 ประเภท (เว้นแต่อาคารตามข้อ 6 ที่ไม่เข้าข่ายเป็นอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่พิเศษ) ต้องถูกตรวจสอบและส่งรายงาน

การตรวจสอบก่อนวันที่ 29 ธันวาคม 2550 สำหรับกรณีพื้นที่นอกเขตควบคุมอาคาร (พื้นที่ที่ยังไม่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาให้ใช้

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือพื้นที่นอกเขตผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง)

อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบมี 4 ประเภท ได้แก่ อาคารสูง อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารชุมนุมคนและโรงมหรสพ

หากเจ้าของไม่ตรวจสอบจะมีความผิดอย่างไร   

หากเจ้าของอาคารไม่มีการจัดให้มีการตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

และโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000  บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

บทกำหนดโทษ

กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดบังคับใช้ให้อาคารที่ต้องมีผู้ตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ  แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 ต้องปฏิบัติตามโดยเจ้าของอาคารที่เข้าข่ายต้องตรวจสอบอาคารตามมาตรา 32 ทวิ ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารที่ได้รับอนุญาตขึ้นทะเบียนกับสำนักงานควบคุมและตรวจสอบอาคารกรมโยธาธิการและผังเมืองและต้องจัดให้มีการตรวจสอบใหญ่ 1 ครั้ง พร้อมส่งรายงานการตรวจสอบอาคารให้แก่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น
มาตรา 65  ทวิ

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 ทวิ (ว่าด้วยเรื่องประเภทของอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัย) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้วผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 32 ทวิ  ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง

มาตรา 65 จัตวา

ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2543 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 46 ทวิ (ว่าด้วยเรื่องอุปกรณ์อาคาร) ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท นอกจากต้องระวางโทษตามวรรคหนึ่งแล้วผู้ไม่ปฏิบัติตามมาตร 46 ทวิ

ยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

Leave a comment

Name
E-mail
Comment

ยู เพาเวอร์ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส
ตรวจรับรองและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าประจำปี
ตรวจรับรอง ลิฟต์ รอก ปั้นจั่น(เครน)
ตรวจรับรองอาคารและรับรองการจัดการพลังงานโดยวิศวกรและทีมงานมืออาชีพ

Address

82/71  ม.9  ซ.ประชาสำราญ2   ถ.ประชาสำราญ  แขวงคลองสิบสอง

เขตหนองจอก กรุงเทพฯ  10530

Contacts

Tel. 092-5390699  Fax. 02-1037115
upower.sale@gmail.com

Socials

Upower.co.th© 2018-2024. All rights reserved.

error: Call 092-5390699 !!